เมนู

เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อม
ขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม
ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ
เฉพาะตนเท่านั้น เธอย่อมเธอทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ พีชสูตรที่ 2

อรรถกถาพีชสูตรที่ 2



ในพีชสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พีชชาตานิ ได้แก่ พืชทั้งหลาย. บทว่า มูลพีชํ ได้แก่
พืชเกิดแต่ราก มีว่านน้ำ ว่านเปราะ ขมิ้น ขิง เป็นต้น. บทว่า ขนฺธพีชํ
ได้แก่ พืชเกิดแต่ลำต้น มีต้นโพธิ ต้นไทรเป็นต้น. บทว่า ผลุพีชํ ได้แก่
พืชเกิดแต่ข้อ มี อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ เป็นต้น. บทว่า อคฺคพีชํ ได้แก่ พืช
เกิดแต่ยอด มีผักบุ้ง แมงลัก เป็นต้น. บทว่า พีชพีชํ ได้แก่ พืชเกิดแต่เมล็ด
คือปุพพัณณชาตมีสาลีและข้าวเจ้าเป็นต้น และอปรัณณชาตมี
ถั่วเขียวและถั่วราชมาส เป็นต้น. บทว่า อกฺขณฺฑานิ ได้แก่ ไม่แตก
ตั้งแต่เวลาที่พืชแตกแล้ว ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช. บทว่า
อปูติกานิ ได้แก่ ไม่เน่าเพราะชุ่มด้วยน้ำ. จริงอยู่. พืชที่เน่า ย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่พืช. บทว่า อวาตาตปปฺปตานิ ความว่า ไม่ถูกลมและ
แดดกราด ปราศจากธุลี ไม่เปียกชุ่ม จริงอยู่ พืชที่เป็นกากไม่มีธุลี
ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช. บทว่า สาราทานิ ได้แก่ พืชที่มีสาระ
คือที่มีแก่นอยู่แล้ว จริงอยู่พืชที่ไม่มีแก่น ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช.

บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ อยู่อย่างสบาย ตลอดสี่เดือน โดยทำนองที่
เขาใส่ไว้ในฉางนั่นแล. บทว่า ปฐวี ได้แก่ แผ่นดินที่ตั้งอยู่ภายใต้
บทว่า อาโปได้แก่ น้ำที่กำหนดแต่เบื้องบน. บทว่า จตสฺโส วิญฺญาณฏฺฐิติโย
ความว่า ขันธ์ 4 มีรูปขันธ์ เป็นต้น อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมวิญญาณ
จริงอยู่ ขันธ์เหล่านั้นเสมือนกับปฐวีธาตุ เพราะเป็นธรรมชาติ ตั้งอยู่
ได้ด้วยอำนาจของอารมณ์ นันทิและราคะ เป็นเสมือนกับอาโปธาตุ
เพราะอรรถว่าเป็นใยยาง. บทว่า วิญฺญาณํ สาหารํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ
พร้อมด้วยปัจจัย, จริงอยู่ กรรมวิญญาณนั้น งอกขึ้นบนแผ่นดินคือ
อารมณ์ เหมือนพืชงอกขึ้นบนแผ่นดิน ฉะนั้น.
จบ อรรถกถาพีชสูตรที่ 2

3. อุทานสูตร



ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ



[108] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเปล่งอุทานว่า ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี
ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มี
แก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.
[109] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุ
รูปหนึ่งได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี กรรมสังขารจักไม่มี
ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร
พระเจ้าข้า.